มอเตอร์ คืออะไร มาดูกัน
อีกหนึ่งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ช่วยให้พลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนให้กลายมาเป็นพลังงานกลนั้นจะเรียกว่า มอเตอร์ ซึ่งปัจจุบันนี้คุณสมบัติของ มอเตอร์ จะไม่เหมือนกัน ทั้งในเรื่องการทำงานหรือความเร็วของรอบ โดยบทความนี้จะมาพาให้ทุกคนได้รู้จักถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนี้มากยิ่งขึ้นว่าสามารถแบ่งได้ทั้งหมดกี่ชนิดหากอิงตามลักษณะที่ใช้งานด้วยกระแสไฟฟ้า
ชนิด มอเตอร์ ที่สามารถแบ่งได้ มีอะไรบ้าง
ในการแบ่งชนิดของ มอเตอร์ นั้นจะสามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 2 ชนิด โดยกล่าวได้ดังต่อไปนี้
- มอเตอร์ ไฟฟ้ากระแสตรง เรียกอีกอย่างหนึ่งคือ D.C. MOTOR ซึ่งแบ่งย่อยออกมาได้ทั้งหมด 3 ชนิด คือ
- Shunt Motor (แบบอนุขนาน)
- Series Motor (แบบอนุกรม)
- Compound Motor (แบบผสม)
- มอเตอร์ ไฟฟ้ากระแสสลับ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า A.C. MOTOR ซึ่งแบ่งย่อยออกมาได้ทั้งหมดเป็น 3 ชนิด คือ
- ชนิดหนึ่งเฟส เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า A.C. Sing Phase ไฟฟ้าจะมีแรงดันอยู่ที่ 220 โวลต์ สายไฟต่อเข้าทั้งหมด 2 สาย และมีแรงม้าที่ไม่ได้สูงมากนัก เหมาะกับการใช้งานภายในบ้านเรือน
- ชนิดสองเฟส เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า A.C.Two phas Motor
- ชนิดสามเฟส เรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า เฟส มอเตอร์ หรือก็คือ A.C. Three phase Motor ชนิดนี้จะเหมาะต่อการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมซึ่งแรงดันไฟฟ้าคือ 380 โวลต์ และมีสายไฟต่อเข้าถึง 3 สาย
มอเตอร์ มีการทำงานเป็นอย่างไร
สำหรับการทำงานของ มอเตอร์ ในเบื้องต้นที่ควรจะรู้หากเป็นแบบไฟฟ้ากระแสตรงนั้น จะมีแรงดันไฟที่จ่ายไปคอมมิวเตเตอร์ผ่านทางแปรงถ่านซึ่งเป็นการจ่ายแรงดันไฟโดยตรง และผ่านขดลวดตัวนำไปยังอาร์เมเจอร์ ส่งผลให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ขดลวดเมเจอร์ขึ้นที่ขั้วเหนือบริเวณด้านซ้ายและขั้วใต้บริเวณด้านขวา เช่นเดียวกับการนำแม่เหล็กถาวรมาวางใกล้กัน จึงเกิดการผลักดันจากอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้า อาร์เมจอร์จึงมีการหมุนตามทิศทางของเข็มนาฬิกา รวมถึงคอมมิวเตเตอร์ก็หมุนด้วยเช่นกัน เมื่อแปรงถ่านมีการสัมผัสส่วนที่เป็นคอมมิวเตเตอร์ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขดลวดที่ปลายข้างหนึ่ง มีผลให้เกิดขั้วแม่เหล็กอาร์เมเจอร์มีลักษณะเหมือนขั้วแม่เหล็กถาวรซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียง อาร์เมเจอร์จึงถูกผลักจนหมุนไปยังทิศทางของเข็มนาฬิการอยู่ตลอด ซึ่งการหมุนของอาร์เมเจอร์ทำให้ มอเตอร์ ไฟฟ้าทำงานนั่นเอง
จากบทความที่กล่าวมานี้ช่วยให้ได้ความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับ มอเตอร์ ว่าสามารถแบ่งออกได้กี่ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีรูปแบบและลักษณะการทำงานที่แตกต่างกัน รวมถึงความเหมาะสมในการใช้งานตามลักษณะของงานที่ทำ ทั้งยังได้ความรู้ในเรื่องของ มอเตอร์ ว่ามีการทำงานอย่างไร ซึ่งจะอธิบายอย่างคร่าว ๆ ให้ทุกคนได้รู้เบื้องต้น